วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 8

27  ธันวาคม  2556


*ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันหยุดสิ้นปีและเป็นช่วงหลังสอบกลางภาคเรียน*


บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 7

20  ธันวาคม  2556


*ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากเป็นสัปดาห์สอบกลางภาค*


วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 5

6  ธันวาคม  2556



กิจกรรมการเรียน  การสอน


พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ


พัฒนาการ  
  • การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆ
  • ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนานการ
  • มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
  • พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง  หรือหลายด้าน
  • พัฒนาการล่าช้าในดานหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่ล่าช้าไปด้วย
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการ
  • ปัจัยด้านชีวาพ   เช่น   พันธุกรรม
  • ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด
  • ปัจจัยด้านกรบวนการคลอด
  • ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด
สาเหตุที่ให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ

1. โรคทางพันธุกรรม

  • เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาตั้งแต่เกิดหรือสังเกตได้ในช่วงระยะเวลาที่ไม่นานหลังการเกิด  มักมีลักษณะผิดปกติมาตั้งแต่เกิดร่วมด้วย  เช่น  ผิวเผือก  ท้าวแสนปม  ตาบอดและหูหนวก  ดาวน์ซิลโดรม  มะเร็ง  เบาหวาน 


2.  โรคทางระบบประสาท
  • เด็กที่มีความกพร่องทางัฒนาการสวนใหญ่ที่มีอาการหรืออาการแสดงทางระบบประสาทร่วมด้วย
  • ที่พบบ่อย คือ  อาการชัก
3.  การติดเชื้อ

  • ตั้งแต่ในครรภ์  น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย  ศีรษะเล็กกว่าปกติ  อาจมีตับ ม้ามโต  การได้ยินบกพร่อง ต้อกระจก
  • นอกจากนี้ การติดเชื้อรุนแรงภายหลังคลอด  เช่น  สมองอักเสบ  เยื่อหุ้มสมองอักเสบ  เป็นสาเหตุที่พบได้บ้าง
4.  ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
  • โรคที่ต้องเป็นปัญหาสาธารณสุขไทย  คือ  ไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ
5.  ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด
  • เกิดก่อนกำหนด  น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย  และภาวะขาดออกซิเจน
6.  สารเคมี
  • ตะกั่ว  
    • เป็นสารที่มีผลกระทบต่อเด็กและมีการศึกษามากที่สุด
    • มีอาการซึมเศร้า  เคลื่อนไหวช้า  ผิวดำหมอง  คล้ำเป็นจุดๆ
    • ภาวะตับเป็นพิษ
    • ระดับสติปัญญาต่ำ


  • แอลกอฮอล์
    • น้ำหนักแรกเกิดน้อย
    • มีอัตราการเพิ่มน้ำหนักหลังเกิดน้อย  ศีรษะเล็ก
    • พัฒนาการทางสติปัญญามีความบกพร่อง
    • เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
    • Fetal alcohol syndrome,Fas  คือ  ช่องตาสั้น  ริมฝีปากบนเรียบ  ยาวและบาง  หนังหุ้มหัวตาหนามาก  จมูกแบน และปลายจมูกเชิดขึน


  • นิโคติน
    • น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย  ขาดสารอาหารในระยะตั้งครรภ์
    • เพิ่มอัตราการตายในวัยทารก
    • บกพร่องทางด้านสติปัญญา
    • สมาธิสั้น  พฤติกรรมก้าวร้าว  มีปัญหาด้านการเข้าสังคม



7.  การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม  รวมทั้งการขาดสารอาหาร  

อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ

  • พัฒนาการล่าช้า  อาจพบได้มากกว่า 1 ด้าน
  • ปฏิกิริยาสะท้อน  (primitive reflex)  ไม่หายไปไหนถึงแม้ในช่วงอายุที่ควรจะหายแล้วก็ตาม

แนวทางการวินิจฉัย เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ

1.  ซักประวัติ
  • โรคประจำตัว
  • การเจ็บป่วยในครอบครัว
  • ประวัติการฝากครรภ์
  • ประวัติเกี่ยวกับคลอด
  • พัฒนาการที่ผ่านมา
  • การเล่นตามวัย  การช่วยเหลือตนเอง
  • ปัญหาพฤติกรรม
  • ประวัติอื่นๆ
เมื่อซักประวัติแล้ว จะสามารถบอกได้ว่า
  1. ลักษณะพัฒนาการล่าช้าเป็นแบบคงที่หรือถดถอย
  2. เด็กมีพัฒนาการช้าหรือไม่  อย่างไร  อยู่ไหนระดับไหน
  3. มีข้อบ่งชี้ว่ามีสาเหตุจากโรคทางพันธุกรรมหรือไม่
  4. สาเหตุของความบกพร่องทางพัฒนาการนั้นเกิดจากอะไร
  5. ขณะนี้เด็กได้รับการช่วยเหลือและฟื้นฟูอย่างไร
2.  การตรวจร่างกาย
  • ตรวจร่างกายทั่วไปและการเจริญเติบโต
  • ภาวะตับม้ามโต
  • ผิวหนัง
  • ระบบประสาทและวัดศีรษะด้วยเสมอ
  • ดูลักษณะของเด็กที่ถูกทารุณกรรม (Child abuse)
  • ระบบการมองเห็นและการได้ยิน
3.  การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
4.  การประเมินพัฒนาการ

  • การประเมินแบบไม่เป็นทางการ
    การประเมินที่ใช้เวชปฏิบัติ
  • แบบทดสอบ  Denver II
  • Gesell DDrawing  Test
  • แบบประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุแรกเกิด - 5 ปี  ของสถาบันราชานุกูล

แนวทางในการดูแลรักษา

  • หาสาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
  • การตรวจค้นหาความผิดปกติร่วม
  • การรักษาหาสาเหตุโดยตรง
  • การส่งเสริมพัฒนาการ
  • ให้คำปรึกษากับครอบครัว
ขั้นตอนในการดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
  1. การคัดกรองพัฒนาการ
  2. การประเมินพัฒนาการ
  3. การให้การวินิจฉัยและหาสาเหตุ
  4. การให้การรักษาและส่งเสริมพัฒนาการ
  5. การติดตามและประเมินผลการรักษาเป็นระยะ

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 4

29  พฤศจิกายน  2556


กิจกรรมการเรียน  การสอน


6.   เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
              *  เด็กที่ไมาสามารถควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆได้
              *  เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
              *  ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย
แบ่งได้ 2  ประเภท
               1. เด็กที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางอารมณ์
               2. เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้   มักมีพฤติกรรมที่เห็นได้ชัด  คือ
                   - วิตกกังวล
                   - หนีสังคม
                   - ก้าวร้าว
การจะจัดว่าเด็กมีความบกพร่องทางอารมณ์และพฤติกรรมต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ  ดังนี้
              1.  สภาพแวดล้อม
              2.  ความคิดเห็นของแต่ละบุคคล
ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
               1.  ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เหมือนเด็กปกติ
               2.  รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนและครูไม่ได้
               3.  มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม  เมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน
               4.  มีความคับข้องใข  และมีความเก็บกดอารมณ์
               5.  แสดงอาการทางร่างกาย   เช่น   ปวดศีรษะ  ปวดตามส่วนต่างๆของร่างกาย
               6.  มีอาการหวาดกลัว
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม  ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก
               *  เด็กสมาธิสั้น
               *  เด็กออทิสติก  หรือ  ออทิสซึ่ม
                 
เด็กสมาธิสั้น  (Attention  Deficit Hyperactivity Disorders)
                *  เรียกสั้นๆว่า  ADHD
                *  เด็กที่ซน  อยู่ไม่นิ่ง  ซนมากผิดปกติ  เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
                *  เด็กบางคนมีปัญหาเรื่องสมาธิบกพร่อง  อาการหุนหันพลันแล่น
                *  ขาดความยับยั้งชั่งใจ  เด็กเหล่านี้ทางการแพทย์เรียกว่า  Attention  Deficit  Disorders  (ADD)

ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
             1.  อุจจาระ  ปัสสาวะรดเสื้อผ้าหรือที่นอน
             2.  ติดขวดนม  ตุ๊กตา  หรือของใช้ในวัยทารก
             3.  ดูดนิ้ว  กัดเล็บ
             4.  เรียกร้องความสนใจ
             5.  อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า
             6.  ขี้อิจฉา ริษยา  ก้าวร้าว
             7.  ฝันกลางวัน
             8.  พูดเพ้อเจ้อ
             9.  หงอยเหงา  เศร้าซึม  และมีการหนีสังคม


7.  เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้  (Children  With  Learning  Disabilities)
            *  เรียกย่อๆว่า L.D.
            *  มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง
            *  มีปัญหาทางการใช้ภาษาหรือการพูดและการเขียน
            *  ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน  เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ  หรือ  ความบกพร่องทางร่างกาย

ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
            1.  มีปัญหาในทักษะคณิตศาสตร์
            2.  ปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้
            3.  เล่าเรื่อง/ลำดับเหตุการณ์ไม่ได้
            4.  มีปัญหาด้านการอ่าน/เขียน
            5.  ซุ่มซ่าม
            6.  รับลูกบอลไม่ได้
            7.  ติดกระดุมไม่ได้
            8.  เอาแต่ใจตัวเอง

8.  เด็กออทิสติก  (Autistic)
             *  หรือออทิซึ่ม
             *  มีความบกพร่องอย่างรุนแรงในการสื่อความหมาย  พฤติกรรม  สังคมและความสามารถทางสติปัญญาในการรับรู้
             *  เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง
             *  อาการนี้จะติดตัวไปตลอดชีวิต
             *  มีทักษะทางภาษา   สังคม  ที่ต่ำ
 
ลักษณะของเด็กออทิสติก
              1.  อยู่ในโลกของตัวเอง
              2.  ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
              3.  ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
              4.  ไม่ยอมพูด
              5.  มีการเคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ
              6.  ยึดติดวัตถุ
              7.  ต่อต้าน  หรือแสดงกิริยาอารมณ์รุนแรงและไร้เหตุผล
              8.  มีท่าทางเหมือนคนหูหนวก
              9.  ใช้วิธีการสัมผัส  และเรียนรู้สิ่งต่างๆด้วยวิธีการที่ต่างจากคนทั่วไป

9.  เด็กพิการซ้อน
                *  มีความบกพร่องที่มากกว่า 1  อย่าง  เป็นเหตุให้เด็กเกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
                *  เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
                *  เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด


ดูโทรทัศน์ครู
"ผลิบาน  ผ่านมือครู  ตอน  ห้องเรียนแรกของเด็กพิเศษ"

ดูวีดีโอ  คลิก  :  http://www.thaiteachers.tv/vdo2.php?id=2490