วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 5

6  ธันวาคม  2556



กิจกรรมการเรียน  การสอน


พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ


พัฒนาการ  
  • การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆ
  • ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนานการ
  • มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
  • พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง  หรือหลายด้าน
  • พัฒนาการล่าช้าในดานหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่ล่าช้าไปด้วย
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการ
  • ปัจัยด้านชีวาพ   เช่น   พันธุกรรม
  • ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด
  • ปัจจัยด้านกรบวนการคลอด
  • ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด
สาเหตุที่ให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ

1. โรคทางพันธุกรรม

  • เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาตั้งแต่เกิดหรือสังเกตได้ในช่วงระยะเวลาที่ไม่นานหลังการเกิด  มักมีลักษณะผิดปกติมาตั้งแต่เกิดร่วมด้วย  เช่น  ผิวเผือก  ท้าวแสนปม  ตาบอดและหูหนวก  ดาวน์ซิลโดรม  มะเร็ง  เบาหวาน 


2.  โรคทางระบบประสาท
  • เด็กที่มีความกพร่องทางัฒนาการสวนใหญ่ที่มีอาการหรืออาการแสดงทางระบบประสาทร่วมด้วย
  • ที่พบบ่อย คือ  อาการชัก
3.  การติดเชื้อ

  • ตั้งแต่ในครรภ์  น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย  ศีรษะเล็กกว่าปกติ  อาจมีตับ ม้ามโต  การได้ยินบกพร่อง ต้อกระจก
  • นอกจากนี้ การติดเชื้อรุนแรงภายหลังคลอด  เช่น  สมองอักเสบ  เยื่อหุ้มสมองอักเสบ  เป็นสาเหตุที่พบได้บ้าง
4.  ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
  • โรคที่ต้องเป็นปัญหาสาธารณสุขไทย  คือ  ไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ
5.  ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด
  • เกิดก่อนกำหนด  น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย  และภาวะขาดออกซิเจน
6.  สารเคมี
  • ตะกั่ว  
    • เป็นสารที่มีผลกระทบต่อเด็กและมีการศึกษามากที่สุด
    • มีอาการซึมเศร้า  เคลื่อนไหวช้า  ผิวดำหมอง  คล้ำเป็นจุดๆ
    • ภาวะตับเป็นพิษ
    • ระดับสติปัญญาต่ำ


  • แอลกอฮอล์
    • น้ำหนักแรกเกิดน้อย
    • มีอัตราการเพิ่มน้ำหนักหลังเกิดน้อย  ศีรษะเล็ก
    • พัฒนาการทางสติปัญญามีความบกพร่อง
    • เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
    • Fetal alcohol syndrome,Fas  คือ  ช่องตาสั้น  ริมฝีปากบนเรียบ  ยาวและบาง  หนังหุ้มหัวตาหนามาก  จมูกแบน และปลายจมูกเชิดขึน


  • นิโคติน
    • น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย  ขาดสารอาหารในระยะตั้งครรภ์
    • เพิ่มอัตราการตายในวัยทารก
    • บกพร่องทางด้านสติปัญญา
    • สมาธิสั้น  พฤติกรรมก้าวร้าว  มีปัญหาด้านการเข้าสังคม



7.  การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม  รวมทั้งการขาดสารอาหาร  

อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ

  • พัฒนาการล่าช้า  อาจพบได้มากกว่า 1 ด้าน
  • ปฏิกิริยาสะท้อน  (primitive reflex)  ไม่หายไปไหนถึงแม้ในช่วงอายุที่ควรจะหายแล้วก็ตาม

แนวทางการวินิจฉัย เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ

1.  ซักประวัติ
  • โรคประจำตัว
  • การเจ็บป่วยในครอบครัว
  • ประวัติการฝากครรภ์
  • ประวัติเกี่ยวกับคลอด
  • พัฒนาการที่ผ่านมา
  • การเล่นตามวัย  การช่วยเหลือตนเอง
  • ปัญหาพฤติกรรม
  • ประวัติอื่นๆ
เมื่อซักประวัติแล้ว จะสามารถบอกได้ว่า
  1. ลักษณะพัฒนาการล่าช้าเป็นแบบคงที่หรือถดถอย
  2. เด็กมีพัฒนาการช้าหรือไม่  อย่างไร  อยู่ไหนระดับไหน
  3. มีข้อบ่งชี้ว่ามีสาเหตุจากโรคทางพันธุกรรมหรือไม่
  4. สาเหตุของความบกพร่องทางพัฒนาการนั้นเกิดจากอะไร
  5. ขณะนี้เด็กได้รับการช่วยเหลือและฟื้นฟูอย่างไร
2.  การตรวจร่างกาย
  • ตรวจร่างกายทั่วไปและการเจริญเติบโต
  • ภาวะตับม้ามโต
  • ผิวหนัง
  • ระบบประสาทและวัดศีรษะด้วยเสมอ
  • ดูลักษณะของเด็กที่ถูกทารุณกรรม (Child abuse)
  • ระบบการมองเห็นและการได้ยิน
3.  การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
4.  การประเมินพัฒนาการ

  • การประเมินแบบไม่เป็นทางการ
    การประเมินที่ใช้เวชปฏิบัติ
  • แบบทดสอบ  Denver II
  • Gesell DDrawing  Test
  • แบบประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุแรกเกิด - 5 ปี  ของสถาบันราชานุกูล

แนวทางในการดูแลรักษา

  • หาสาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
  • การตรวจค้นหาความผิดปกติร่วม
  • การรักษาหาสาเหตุโดยตรง
  • การส่งเสริมพัฒนาการ
  • ให้คำปรึกษากับครอบครัว
ขั้นตอนในการดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
  1. การคัดกรองพัฒนาการ
  2. การประเมินพัฒนาการ
  3. การให้การวินิจฉัยและหาสาเหตุ
  4. การให้การรักษาและส่งเสริมพัฒนาการ
  5. การติดตามและประเมินผลการรักษาเป็นระยะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น