วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 3

22  พฤศจิกายน  2556



กิจกรรมการเรียนการสอน

4. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ  (Children with Physical and Health Impairments)

              -  เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน
              -  อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งขาดหายไป
              - มีปัญหาทางระบบประสาท
              - มีความลำบากในการเคลื่อนไหว
จำแนกได้
               1. อาการบกพร่องทางร่างกาย
               2. ความบกพร่องทางสุขภาพ

1. อาการบกพร่องทางร่างกาย
            ซี.พี.  (Cerebral Palsy)
    - เป็นอัมพาต  เนื่องจากระบบประสาทของสมองพิการ  หรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด  ระหว่างคลอดหรือหลังคลอด
     - การเคลื่อนไหว  การพูด  พัฒนาการล่าช้า  เด็กซี.พี.มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่างๆของสมองแตกต่างกัน
             อาการ      
     1. อัมพาตเกร็งของแขนขา หรือครึ่งซีก  (Spastic)
     2. อัมพาตของลีลาการเคลื่อนไหวผิดปกติ  (Athetoid)
     3. อัมพาตสูญเสียการทรงตัว  (Ataxia)
     4. อัมพาตตึงแข็ง  (Rigid)
     5. อัมพาตแบบผสม  (Mixed)
            กล้ามเนื้ออ่อนแรง   (Muscular  Distrophy)
     -  เกิดจากเส้นประสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนต่างๆเสื่อมสลาย
     - เดินไม่ได้  นั่งไม่ได้  นอนอยู่กับที่
     - มีความพิการซ้อนในระยะหลัง คือ  ความจำแย่ลงสติปัญญาเสื่อม
            โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้้อ  (Orthopedic)
     - ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก  (Club foot) กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน  อัมพาตครึ่งท่อน  เนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด  (Spina Bifida)
     -  ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ  (Infection)  เช่น  วัณโรค  กระดูกหลังโก่ง  กระดูกผุ  เป็นแผลเรื้อรัง  มีหนอง  เศษกระดูกผุ
     -  กระดูกหัก  ข้อเคลื่อน  ข้ออักเสบ
              โปลิโอ  (Poliomyelitis)
      มีอาการ
       -  กล้ามเนื้อลีบเล็ก  แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา
       -  ยืนไม่ได้  หรืออาจปรับสภาพให้ยืนเดินได้ด้วยอุปกรณ์เสริม
       -  แขนขาด้วนแต่กำเนิด  (Limb Deficiency)
       -  โรคกระดูกอ่อน  (Osteogenesis  Imperfeta)

2.  ความบกพร่องทางสุขภาพ
     - โรคลมชัก  (Epilepsy)   เป็นลักษณะที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของระบบสมอง
1. ลมบ้าหมู  (Grand  Mal)
      เมื่อเกิดอาการชักจะทำให้หมดสติ   และหมดความรู้สึกในขณะชักกล้ามเนื้อเกร็งหรือแขนขากระตุก  กัดฟัน  กัดลิ้น
2. การชักในช่วงเวลาสั้นๆ  (Petit Mal)
  - เป็นอาการชักระยะเวลา  5-10  วินาที
  - เมื่อเกิดอาการชักเด็กจะหยุดชะงักในท่าก่อนชัก
  -  เด็กจะนั่งเฉย  หรือเด็กอาจจะตัวสั่นเล็กน้อย
3.  การชักแบบรุนแรง  (Grand  Mal)
    - เด็กจะส่งเสียง  หมดความรู้สึก  ล้มลง  กล้ามเนื้อเกร็ง เกิดราว  2-5  นาที  จากนั้นจะหายและนอนหลับไปชั่วครู่
4. อาการชักแบบ Partial  Complex
   - เกิดอาการเป็นระยะ
   - กัดริมฝีปาก  ไม่รู้สึกตัว  ถูตามแขนขา  เดินไปมา
   - บางคนอาจเกิดความโกรธหรือโมโห  หลังชักอาจจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้  และต้องนอนพัก
5. อาการไม่รู้สึกตัว  (Focal  Partia)
    -  เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะสั้น  เด็กไม่รู้สึกตัว  อาจทำอะไรบางอย่างโดยที่ตัวเองไม่รู้  เช่น  ร้องเพลง  ดึงเสื้อผ้า  เดินเหม่อลอย  แต่ไม่มีอาการชัก
         -โรคระบบทางเดินหายใจ
         - โรคเบาหวาน  (Diabetes Mellitus)
         - โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์   (Rheumatiod  Arthritis)
         -  โรคศีรษะโต   (Hydrocephalus)
         -  โรคหัวใจ   (Cardiac  Conditions)
         -  โรคมะเร็ง  (Cancer)
         -  เลือดไหลไม่หยุด   (Hemophilia)

ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
         1.  มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว
         2.  ท่าเดินคล้ายกรรไกร
         3.  เดินขากระเผลก  หรืออืออาดเชื่องช้า
         4.  ไอเสียงแห้งบ่อยๆ
         5.  บ่นเจ็บหน้าอกบ่อยๆ  ปวดหลังบ่อยๆ
         6.  หน้าแดงง่าย  มีสีเขียวจางบนแก้ม  ริมฝีปากหรือปลายนิ้ว
         7.  หกล้มบ่อย
         8.  หิวและกระหายน้ำอย่างเกินกว่าเหตุ


5.  เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา  (Children with Speech and  Language  Disorders)
       * พูดไม่ชัด
       * ออกเสียงผิดเพี้ยน
       * อวัยวะที่ใช้ในการพูดไม่สามารถเป็นไปตามลำดับขั้น
       * การใช้อวัยวะเพื่อการพูดไม่เป็นไปดังตั้งใจ
       * มีอากัปกิริยาที่ผิดปกติขณะพูด
1. ความผิดปกติด้านการออกเสียง
       *  ออกเสียงเพี้ยนไปจากมาตรฐานของภาษาเดิม
       *  เพิ่มหน่วยเสียงเข้าใจคำโดยไม่จำเป็น
       *  เอาเสียงหนึ่งมาแทนอีกเสียงหนึ่ง  เช่น  กวาด  เป็น  ฝาด
2.  ความผิดปกติด้านจังหวะเวลาของการพูด
        *  พูดรัว
        *  พูดติดอ่าง
3.  ความผิดปกติด้านเสียง
         *  ระดับเสียง
         *  ความดัง
         *  คุณภาพของเสียง
4.  ความผิดปกติด้านการพูดและภาษา  เนื่องจากพยาธสภาพที่สมอง  โดยทั่วไปเรียกว่า  Dysphasia  หรือ  Aphasia
        1.  Motor  Aphasia
             *  เข้าใจคำถามหรือคำสั่ง  แต่พูดไม่ได้  ออกเสียงลำบาก
             *  พูดช้า  พูดตามได้บ้าง  บอกชื่อสิ่งของพอได้
             *  พูดไม่ถูกไวยากรณ์
         2. Wernicke's  Aphasia
             *  ไม่เข้าใจคำถาม  ได้ยินแต่ไม่เข้าใจความหมาย
             *   ออกเสียงไม่ติดขัด  แต่มักใช้คำผิดๆหรือใช้คำอื่นซึ่งไม่มีความหมายแทน
         3.  Conduction  Aphasia
              *  ออกเสียงได้ไม่ติดขัด  เข้าใจคำถามดี  แต่พูดหรือบอกชื่อสิ่งของไม่ได้
              *  มักเกิดร่วมกับอัมพาตของร่างกายซีกขวา
          4.  Nominal  Aphasia
               *  ออกเสียงได้  เข้าใจคำถามดี  พูดตามได้  แต่บอกชื่อวัตถุไม่ได้  เพราะลืมชื่อ
               *  บางทีไม่เข้าใจความหมายของคำ  มักเกิดขึ้นร่วมกับ Gerstmann's Syndrome
          5.  Global  Aphasia
               * ไม่เข้าใจทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน
               *  พูดไม่ได้เลย
          6.  Sensory  Agraphia
               *  เขียนเองไม่ได้  เขียนตอบคำถามหรือชื่อวัตถุไม่ได้
               *  เกิดร่วมกับ  Gerstmann's Syndrome
          7. Motor   Agraphia
               *  เด็กที่ลอกตัวเขียนหรือตัวพิมพ์ไม่ได้
               *  เขียนตามคำบอกไม่ได้
          8. Contical  Alexia
                *  อ่านไม่ออก  เพราะไม่เข้าใจภาษา
          9. Motor  Alexia
                *  เห็นตัวเขียนหรือตัวพิมพ์  เข้าใจความหมาย
                *  อ่านออกเสียงไม่ได้
          10.  Gerstmann's Syndrome 
                *  ไม่รู้ชื่อนิ้ว
                *  ไม่รู้ซ้ายขวา
                *  คำนวณไม่ได้
                *  เขียนไม่ได้
                *  อ่านไม่ออก
           11.  Visual  Agnosia
                 * มองเห็นวัตถุ  แต่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร
                 * บอกชื่อนิ้วตัวเองไม่ได้
            12. Audrtory  Agnosia
                 *  ไม่มีความบกพร่องทางการได้ยิน  แต่แปลความหมายของคำหรือประโยคที่ได้ยินไม่เข้าใจ

ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางการพูดและภาษา
             1.  ในวัยทารกมักเงียบผิดปกติ  ร้องไห้เบาๆและอ่อนแรง
             2. ไม่อ้อแอ้ภายใน  10  เดือน
             3.  ไม่พูดภายใน 2  ขวบ
             4.  หลัง  3 ขวบแล้วภาษาพูดของเด็กก็ยังฟังเข้าใจยาก
             5.  ออกเสียงตัวสะกดไม่ได้
             6.  หลัง  5  ขวบ  เด็กยังคงใช้ภาษาที่เป็นประโยคไม่สมบูรณ์ในระดับประถมศึกษา
             7.  มีปัญหาในการสื่อความหมาย  พูดตะกุกตะกัก
             8.  ใช้ท่าทางในการสื่อความหมาย


      

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น